วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รับมืออย่างไรเมื่อได้รับผลข้างเคียงจากยา ตอนที่ 1



ผลข้างเคียงระหว่างทำเคมีบำบัด
 เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งนั้นแพทย์จะทำการวางแผนการรักษาซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ฮอร์โมน หรือ immunotherapy  ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็นอย่าง ๆ หรือใช้ร่วมกันหลายวิธี ซึ่งการรักษาด้วยวิธีเหล่านั้นมุ่งหวังที่จะทำลายเซลล์มะเร็ง แต่เนื่องด้วยวิธีการรักษาก้ยังไม่มีความจำเพาะเจาะจงที่สูงมากนัก ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เซลล์ปกติจะได้รับความเสียหายด้วยโดยสาเหตุจากเซลล์ปกติถูกทำลายจึงอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ซึ่งอาการเหล่านั้นมักส่งผลต่อการรับประทานอาหารได้น้อย หากการเตรียมความพร้อมดีและทำจิตใจให้สบาย อาการแทรกซ้อนก็จะมีน้อย แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น ไม่ต้องกังวล ควรทำใจให้สบายและใช้หลักโภชนาบำบัดในการดูแลสุขภาพ ตามแต่กรณีดังต่อไปนี้
ความอยากอาหารลดลง
 ควรเริ่มรับประทานอาหารแต่น้อยแต่กระจายมื้ออาหารให้มากขึ้น และจัดรูปแบบอาหารให้น่ารับประทานพยายามคิดถึงเมนูที่ตนเองชอบมากที่สุด แต่เมนูดังกล่าวไม่ควรขัดกับหลักโภชนาบำบัด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหน้าตาและสีสันของอาหารหากจัดให้น่ารับประทานสามารถทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดีขึ้น เวลารับประทานอาหารควรรับประทานโดยพร้อมเพรียงกันกับคนในครอบครัวเพื่อเป็นการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายระหว่างการรับประทานอาหาร อีกทั้งผู้ดูแลยังได้สังเกตถึงปริมาณของ อาหารที่ร่างกายคนไข้ได้รับว่าพอเพียงหรือไม่ การจัดอาหารควรจัดปริมาณน้อยและย่อยง่ายแต่มีพลังงานสูง
น้ำหนักลดและเม็ดเลือดต่ำ
 ควรทำการเสริมอาหารประเภทของโปรตีน โดยควรได้รับโปรตีนเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1.5 - 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โปรตีนควรเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายเช่น เนื้อปลา และเนื้อไก่ไม่ติดมัน หากน้ำหนักยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ควรเพิ่มการดื่มน้ำผลไม้ให้มากขึ้น
โลหิตจางและเม็ดเลือดแดงต่ำ
 การได้รับเคมีบำบัด ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์โดยการกดการทำงานของไขกระดูก ซึ่งการที่กดการทำงานดังกล่าวทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงนั้นน้อยลงผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดจึงพบอาการเม็ดเลือดแดงต่ำ ฮีโมโกลบินต่ำได้ง่ายผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงก่อนเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและระหว่างการรักษาควรได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว เช่น ถั่วฝักยาว ใบชะพลู เป็นต้น ผักดังกล่าวจะอุดมด้วยธาตุเหล็ก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกายมีเม็ดเลือดที่ต่ำมากมากอย่างต่อเนื่องบางครั้งอาจจะต้องได้รับยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดแดง โดยใช้พวก erythropoietin เป็นตัวกระตุ้นฉีดโดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้พิจารณาใช้ยาดังกล่าว
เป็นแผลในช่องปาก ปากแห้งคอแห้ง
 การเกิดแผลในช่องปากหรือปากแห้งมาจากการที่เซลล์เยื่อบุผิวถูกทำลาย ควรดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 1  แก้ว นอกจากนั้น อาจจะต้องพิจาณางดอาหารรสจัดในระหว่างเกิดอาการดังกล่าว รวมไปถึงอาหารที่รสเปรี้ยวจัดและอาหารที่มีความร้อนมากเกินไปก็ควรหลีกเลี่ยง และควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเป็นประจำโดยเจือจางน้ำ 1 แก้ว ต่อเกลือ 1 ช้อนชา

จากหนังสือคู่มือการดุแลตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด