วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาหาร ปัจจัยสำคัญทำให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมสู้กับมะเร็ง



ข้าว แป้ง

 ควรรับประทานข้าวและแป้งเป็นหลัก และในกรณีเบื่ออาหารประเภทข้าวสามารถเลือกใช้ขนมปังแทนได้ โดยหากได้รับพวกข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือก็จะเป็นประโยชน์แก่ร่างกายอย่างมาก

เนื้อสัตว์
  สามารถรับประทานได้ทุกชนิด โดยเน้นเนื้อสัตว์คุณภาพดีไม่ติดมัน อาจเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น ไข่ไก่ 1 ฟองต่อวัน หรือดื่มนมพร่องมันเนยร่วมด้วยก็ได้

ไขมัน
   ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทอดจากน้ำมันซ้ำ ๆ ควรรับประทานไขมันแต่พอดี ประมาณ 5 ช้อนชาต่อวัน และไม่ควรใช้น้ำมันในการปรุงประกอบอาหารที่มากจนเกินไป และเลือกกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งแทน เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เป็นต้น

ผัก
    รับประทานพืชผักสีเข้ม ทั้งเหลืองเข้มและเขียวเข้ม เช่น ผักตระกูลกะหล่ำ จะมีสาร isothiocyanate ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฟักทอง บรอกโคลี มะเขือเทศ ผักเหล่านี้จะมีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยต่อต้านปฎิกิริยาออกซิเดชั่น

ผลไม้
     รับประทานได้ทุกชนิด โดยเน้นผลไม้ที่มีสีส้ม, แดง และผลไม้เหล่านี้จะมีซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล มะละกอ องุ่น สตรอว์เบอรี่ กล้วย ผลไม้เหล่านี้จะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น Fiber, phenol,  flavonoid, carotenoid เป็นต้น

เมล็ดธัญพืช
       ข้าวกล้อง ข้าวโพด ลูกเดือย งา ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ฯลฯ จัดเป็นอาหารต้านมะเร็ง โดยเฉพาะถั่วเหลืองมีปริมาณกรดอะมิโนสูงและยังมีกากใยมาก ซึ่งช่วยให้ระบบย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารได้ดีรวมถึงมีปริมาณแร่ธาติหายากมากกว่า อาหารประเภทอื่น ๆ เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี ธาตุเซลีเนียม ซึ่งช่วยต้านมะเร็ง

จากหนังสือคู่มือการดูแลตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รับมืออย่างไรเมื่อได้รับผลข้างเคียงจากยาตอนที่ 3


ท้องอืด
 เป็นอาการที่เกิดจากระบบการย่อยอาหารทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพทำให้มีการตกค้างของอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์อยู่ในระบบทางเดินอาหารจุลินทรีย์ประจำถิ่นจะทำหน้าที่ย่อยแทนร่างกายเราทำให้เกิดแก๊สขึ้น จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด การรับประทานอาหารไขมันต่ำและอาหารที่ย่อยง่ายจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
   อาหารเบาย่อยง่าย เช่น ข้าว ไข่ขาว ผักกาดแก้ว ปลา และยังมีอาหารและสมุนไพรบางตัวที่มีสรรพคุณช่วยย่อยและลดกรด เช่น ขมิ้นชัน สะระแหน่ น้ำว่านหางจระเข้ น้ำทับทิม เป็นต้น

มีอาการอ่อนแรง อ่อนเพลีย
   อาการอ่อนแรงควรกลับมาสำรวจดูอาหารที่รับประทานว่าเพียงพอหรือไม่ หากพบว่าไม่พอเพียงอาจจะต้องเพิ่มจำนวนอาหารให้มากขึ้นหรือมีการดื่มน้ำผลไม้เย็น ๆ จิบเล่นเป็นประจำจะทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้นระหว่างการได้รับเคมีบำบัด ในบางกรณีอาหารทางการแพทย์ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานเสริมอาหารเป็นบางมื้อได้

ผมร่วง
  หลังจากได้รับเคมีบำบัดอาจจะเกิดอาการผมร่วง ซึ่งเมื่อหลังได้รับการรักษาแล้วผมอาจจะยังไม่ขึ้น ควรเน้นการให้ผู้ป่วยได้รับอาหารประเภทโปรตีนให้พอเพียง นอกจากนี้ควรเพิ่มในส่วนของข้าวไม่ขัดสีเพื่อให้ได้รับวิตามินบีที่พอเพียง อีกทั้งหากอาการท้องเสียยังไม่หายดีอาจจะต้องกลับไปพบแพทย์ ควรดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารในการปรุงประกอบอย่างต่อเนื่อง การได้รับอาหารยังคงเป็นพวกอาหารพลังงานสูงและมีโปรตีนสูงอยู่เพราะอาหารดังกล่าวจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว


จากหนังสือคู่มือการดูแลตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาหารการกิน


ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วยไส้เผือก

ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม มะพร้าวขูดขาว 500กรัม น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย เกลือป่น 1 ช้อนชา น้ำดอกไม้สดหรือน้ำเปล่า 3 ถ้วย ใบตองตามความต้องการ
ส่วนผสมไส้กล้วย
กล้วยน้ำว้าสุก 6 ลูก ปอกเปลือกผ่าครึ่งลูกตามยาว
ส่วนผสมไส้เผือก
เผือกหัวใหญ่ต้มหรือนึ่งให้สุก 1 หัว น้ำตาลปีป 1 ถ้วย น้ำ 1/4 ถ้วย
ปอกเปลือกเผือก โขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาล ใส่น้ำ ยกขึ้นตั้งไฟกวนไฟอ่อนจนเหนียว
วิธีทำ
1. ซาวข้าวเหนียวให้สะอาด แช่น้ำ 3 ชั่วโมง
2.คั้นมะพร้าวด้วยน้ำดอกไม้สด เมื่อได้กะทิแล้วนำมาผสมกับน้ำตาลทรายและเกลือป่น นำไปมูนกับข้าวเหนียวนึ่งขณะยังร้อนอยู่ ทิ้งไว้สักครู่
3.ตักข้าวเหนียวใส่ใบตองประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วางกล้วยลง 1 ซีก ตักข้าวเหนียวปิดบนกล้วยอีก 2 ช้อนโต๊ะ พับใบตองเข้าหากันใช้ไม้กลัดปิดหัวท้าย
4. นำไปย่างไฟอ่อนจนเหลีอง
5.หากเป็นไส้เผือกใส่เผือกกวน แทนกล้วย 1ช้อนโต๊ะ

ข้อมูลจากหนังสือรายการกระจายเสียง ของวิทยุศึกษา เดือนตุลาคม 2534

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รับมืออย่างไรเมื่อได้รับผลข้างเคียงจากยา ตอนที่ 2


การรับรสและกลิ่นเปลี่ยนไป
 ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีการรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นรสชาติอาหารควรมีการดูแล และปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ที่สำคัญควรมีการเพิ่มกลิ่นในอาหาร เช่น ใส่ใบโหระพาเพื่อชูกลิ่นของอาหารให้มีกลิ่นน่ารับประทานมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากเพราะไขมันจะทำให้ตุ่มรับรสรับรสชาติได้แย่กว่าเดิม
คลื่นไส้ อาเจียน
  เมื่อเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาหารที่รับประทานต้องมีลักษณะอ่อนย่อยง่าย ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากจนเกินไป และเริ่มให้รับอาหารปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหาร แต่อาหารที่เลือกรับประทานควรเป็นอาหารพลังงานสูง เช่น เลือกเนืื้อปลานำมานึ่งรับประทาน
ท้องเสีย
  หากเกิดอาการท้องเสีย ควรงดเว้นการรับประทานอาหารรสจัดรวมไปถึงผักและผลไม้ ไม่ควรรับประทานเส้นใยอาหารที่มากเกินไปในขณะที่เกิดอาการท้องเสีย ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย มีรสจืด เพื่อลดการอาการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุกทุกชนิด แม้แต่ผักควรจะต้มหรือผ่านความร้อนก่อนรับประทาน เพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่ในผักเหล่านั้น
  ข้าวต้มเปล่า ๆ มีสรรพคุณช่วยเพิ่มกำลังวังชาและช่วยลดอาการท้องเสียสำหรับผู้ป่วยที่ท้องเสียอย่าเพิ่งรับประทานข้าวสวย ควรรับประทานตามลำดับจากน้ำข้าวจนถึงข้าวต้มใส ๆ เพื่อให้ลำไส้มีโอกาสได้ปรับตัว เมื่อท้องเสียร่างกายเสียน้ำมาก ควรรับประทานน้ำข้าวเติมด้วยเกลือเล็กน้อยเพื่อเป็นการเพิ่มเติมโซเดียมด้วย
ท้องผูก
 ถ้าเกิดอาการท้องผูกและแน่นท้องควรดื่มน้ำให้มากขึ้น และเลือกรับประทานอาหารเส้นใยให้มากขึ้น โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ นอกจากนี้การฝึกเข้าห้องน้ำเป็นประจำยังช่วยได้มาก เช่น ทุกครั้งตอนตื่นนอนก็เข้าห้องน้ำแม้จะไม่ปวดอุจจาระก็ตาม เพื่อฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เคยชินหากมีอาการท้องผูกและควรดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 - 10 แก้ว

จากหนังสือ คู่มือการดูแลตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับรับยาเคมีบำบัด

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การ์ตูนเล่น ๆ ( ตอน เหนียวไก่ )


เรื่องเหนียวไก่
















การ์ตูนเล่น ๆ ( ตอน พลุวันพ่อ )

การ์ตูนเรื่อง พลุวันพ่อ
วันนี้เป็นวันพ่อ เหมียวกับเจ้านายได้ดู พลุที่จุดอย่างสวยงาม
สวยจังเลยเหมียว
เอ๊ะ ๆเจ้านายเป็นอะไรไปเหรอเหมียว....?
เจ้านายคงนึกถึงพ่อที่จากไปแน่เลยเหมียว
เจ้านายเหมียวอยู่เป็นเพื่อนแล้วนะ
เหมียว ๆ รักพ่อกันทุก ๆวันนะเหมียว

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รับมืออย่างไรเมื่อได้รับผลข้างเคียงจากยา ตอนที่ 1



ผลข้างเคียงระหว่างทำเคมีบำบัด
 เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งนั้นแพทย์จะทำการวางแผนการรักษาซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ฮอร์โมน หรือ immunotherapy  ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็นอย่าง ๆ หรือใช้ร่วมกันหลายวิธี ซึ่งการรักษาด้วยวิธีเหล่านั้นมุ่งหวังที่จะทำลายเซลล์มะเร็ง แต่เนื่องด้วยวิธีการรักษาก้ยังไม่มีความจำเพาะเจาะจงที่สูงมากนัก ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เซลล์ปกติจะได้รับความเสียหายด้วยโดยสาเหตุจากเซลล์ปกติถูกทำลายจึงอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ซึ่งอาการเหล่านั้นมักส่งผลต่อการรับประทานอาหารได้น้อย หากการเตรียมความพร้อมดีและทำจิตใจให้สบาย อาการแทรกซ้อนก็จะมีน้อย แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น ไม่ต้องกังวล ควรทำใจให้สบายและใช้หลักโภชนาบำบัดในการดูแลสุขภาพ ตามแต่กรณีดังต่อไปนี้
ความอยากอาหารลดลง
 ควรเริ่มรับประทานอาหารแต่น้อยแต่กระจายมื้ออาหารให้มากขึ้น และจัดรูปแบบอาหารให้น่ารับประทานพยายามคิดถึงเมนูที่ตนเองชอบมากที่สุด แต่เมนูดังกล่าวไม่ควรขัดกับหลักโภชนาบำบัด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหน้าตาและสีสันของอาหารหากจัดให้น่ารับประทานสามารถทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดีขึ้น เวลารับประทานอาหารควรรับประทานโดยพร้อมเพรียงกันกับคนในครอบครัวเพื่อเป็นการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายระหว่างการรับประทานอาหาร อีกทั้งผู้ดูแลยังได้สังเกตถึงปริมาณของ อาหารที่ร่างกายคนไข้ได้รับว่าพอเพียงหรือไม่ การจัดอาหารควรจัดปริมาณน้อยและย่อยง่ายแต่มีพลังงานสูง
น้ำหนักลดและเม็ดเลือดต่ำ
 ควรทำการเสริมอาหารประเภทของโปรตีน โดยควรได้รับโปรตีนเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1.5 - 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โปรตีนควรเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายเช่น เนื้อปลา และเนื้อไก่ไม่ติดมัน หากน้ำหนักยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ควรเพิ่มการดื่มน้ำผลไม้ให้มากขึ้น
โลหิตจางและเม็ดเลือดแดงต่ำ
 การได้รับเคมีบำบัด ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์โดยการกดการทำงานของไขกระดูก ซึ่งการที่กดการทำงานดังกล่าวทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงนั้นน้อยลงผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดจึงพบอาการเม็ดเลือดแดงต่ำ ฮีโมโกลบินต่ำได้ง่ายผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงก่อนเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและระหว่างการรักษาควรได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว เช่น ถั่วฝักยาว ใบชะพลู เป็นต้น ผักดังกล่าวจะอุดมด้วยธาตุเหล็ก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกายมีเม็ดเลือดที่ต่ำมากมากอย่างต่อเนื่องบางครั้งอาจจะต้องได้รับยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดแดง โดยใช้พวก erythropoietin เป็นตัวกระตุ้นฉีดโดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้พิจารณาใช้ยาดังกล่าว
เป็นแผลในช่องปาก ปากแห้งคอแห้ง
 การเกิดแผลในช่องปากหรือปากแห้งมาจากการที่เซลล์เยื่อบุผิวถูกทำลาย ควรดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 1  แก้ว นอกจากนั้น อาจจะต้องพิจาณางดอาหารรสจัดในระหว่างเกิดอาการดังกล่าว รวมไปถึงอาหารที่รสเปรี้ยวจัดและอาหารที่มีความร้อนมากเกินไปก็ควรหลีกเลี่ยง และควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเป็นประจำโดยเจือจางน้ำ 1 แก้ว ต่อเกลือ 1 ช้อนชา

จากหนังสือคู่มือการดุแลตัวเองของผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด