Place, People, Photo, something, somewhere, sometime, some picture เก็บภาพและเรื่องราวของวันวาน สถานที่ ผู้คน เรื่องราว เก็บไว้ในความทรงจำ และคิดถึงกันตลอดไป และอีกอย่างหนึ่งฝากสติ๊กเกอร์ไลน์ของบล็อกกันด้วยนะคะ ให้กำลังใจกันด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ *ภาพการ์ตูนและตัวการ์ตูนในบล็อกนี้ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในธุรกิจหรือเกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการโฆษณาใด ๆทั้งสิ้น นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก P. Strawberry เท่านั้น
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
10 ประโยคต้องห้าม ( " สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรพูดถึงลูก ๆ " )
10 ประโยคต้องห้าม ที่ไม่ให้พูดกับลูก ๆ หรือ เด็ก ๆ มีใครเคยพูดไปบ้างแล้ว มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง ที่เป็นประโยคต้องห้ามจากบทความของ พิมลพรรณ สุวรรณโถง ศูนย์สุขวิทยาจิต
" สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรพูดถึงลูก ๆ "
พ่อแม่เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นความรู้สึกต่อตนเองของเด็กทั้งในทางที่ดีและไม่ดี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่พึงระมัดระวังคำพูดและวิธีการแสดงความคิดเห็นของตนต่อการกระทำของเด็กเพราะคำพูดที่เป็นอันตรายที่จะกล่าวต่อไปนี้มีส่วนคัญที่จะทำให้เด็กเกิดความสะเทือนใจ, ไม่ยอมรับ, รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก,มีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อพ่อแม่,ในขณะที่พ่อแม่บางรายจะรู้สึกว่า เมื่อได้ว่ากล่าวเด็กแล้วตนเองรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด, แต่ตามความเป็นจริงแล้ว คำพูดของพ่อแม่จะมีผลต่อการมองตนเอง ( ความภาคภูมิใจ ) ในตนเองของเด็ก
ในบางครั้ง พ่อแม่ก็รู้สึกเสียใจในคำพูดของตนเอง จึงได้มีนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานทางสุขภาพจิตให้คำอธิบายถึงการที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้การควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองโดยได้เสนอแนะให้พ่อแม่พึงระวังและหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดหรือวาจาที่ทำร้ายความรู้สึกของเด็กใน 10 ประโยคที่มีความหมายเช่นที่กล่าวมาแล้วดังนี้คือ
1. การใช้คำพูดเปรียบเทียบเด็กกับบุคคลอื่น เช่นทำไมจึงไม่ทำอย่างพี่เขาล่ะ เขารับผิดชอบตัวเองได้ทุกอย่างหรือ ในทางกลับกัน ก็เป็นการเปรียบเทียบความสามารถของเด็กกับน้อง และยกย่องชมเชยน้องมากกว่าพี่ ซึ่งตามความจริงแล้วคนเรานั้นมีความแตกต่างกันทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะพฤติกรรมตระหนักในเรื่องนี้และไม่ควรจะนำเด็ก ๆ มาเปรียบเทียบกัน เพราะเด็กจะรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง, เด็กจะโกรธพี่หรือน้องหรือเพื่อนที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับตัวเขาเด็กอาจทำตรงข้ามกับคำพูดของพ่อแม่ เพราะการเปรียบเทียบหรือบ่นเป็นเสมือนคำตำหนิเขาอาจทำอะไรเป็นการประชดประชันก็ได้ จึงควรใช้คำพูดในเชิงแก้ไขพฤติกรรมเด็ก เช่น การใช้คำถามที่แฝงความต้องการที่จะให้เด็กปฏิบัติ ห้องควรเป็นระเบียบไหม ? หากจำเป็นต้องชี้แจง การใช้ถ้อยคำเชิงกระตุ้นให้เด็กปฏิบัติ แต่มิใช่การสั่งหรือเปรียบถึงคนอื่น และแสดงให้เห็นว่าถ้าหากเขารักษาความเป็นระเบียบ พ่อแม่ก็จะไม่ตำหนิเขา เด็กจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปฏิบัติได้ดีกว่าที่จะนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
2. ทำไมถึงทำตัวไม่สมอายุนะ ( หรือทำไมถึงชอบทำตัวเป็นเด็กอยู่เรื่อยนะ )
การพูดเช่นนี้ จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม แต่จะทำให้เด็กรู้สึกเหมือนถูกดูหมิ่นว่ายังเป็นเด็กเล็ก ๆ ควรชี้แจงถึงเหตุผลหรือข้อจำกัดต่าง ๆ รวมทั้งระเบียบในครอบครัว เพื่อเด็กจะได้รับทราบว่า หากเขาเลิกทำตัวอย่างที่พ่อแม่ว่าไม่เหมาะเขาจะได้รับผลตอบแทน การใช้คำถามในลักษณะนี้อาจเป็นเพราะพ่อแม่คาคหวังในตัวเด็ก คิดว่าเขาจะสามารถทำอะไรได้สมวัย. แต่บางเรื่องก็หนักไปสำหรับเด็ก
พ่อแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะกับอายุของเด็กศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็กและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ปกครองรายอื่น ๆ บ้างเพื่อทบทวนความคาคหวังของพ่อแม่ ที่มีต่อเด็ก
3.ทำไมลูกไม่ได้เรื่องอย่างนี้นะ?
ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นเรื่องคำตำหนิเมื่อพ่อแม่มองความเปลี่ยนแปลงของลูก เช่น การแต่งตัวหรือทรงผม ที่ต่างไปจากเดิมที่พ่อแม่เคยดูแลให้มาตลอดการตำหนิจะทำให้เด้กเกิดความโกรธ ซึ่งพ่อแม่ควรเข้าใจว่าเพราะเหตุใดเด็กจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ และควรจะต้องชี้แนะแนวทางที่ดีและเน้นให้เห็นผลร้ายที่ได้รับต่อไป เด็กจำเป็นจะต้องเรียนรู้ การปฏิบัติตนให้เหมาะกับกาลเทศะ
4.การชมลูก เช่น ร่าเริง กระฉับกระเฉง หรือน่ารัก
การพูดยกย่องชมเชยลูกว่า " เป็นคนสวย, ฉลาด, มีไหวพริบหรือสง่าผ่าเผย อาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียได้ เพราะหากไม่ได้รับคำชมจากคนอื่น เด็กอาจเกิดความเครียดและรู้สึกว่าเขาต่างไปจากคนอื่น
พ่อแม่ควรยอมรับในบุคลิกลักษณะและความสามารถพิเศษของเด็กไม่ควรพูดถึงปมด้อยของเด็ก เช่น เจ้าอารมณ์, อ้วน ขี้เกียจหรือแม้แต่โง่ เพราะจะทำให้เด็กมีความคิดไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง พ่อแม่จึงควรใช้ทั้งวิธีให้รางวัลและลงโทษตามความเหมาะสม
5.ทำไมถึงได้โง่อย่างนี้?
เวลาที่โกรธ เหนี่อย หรือแม้แต่เวลาตกใจ พ่อแม่จะใช้คำพูดที่รุนแรง เช่น กรณีที่แม่เห็นลูกวิ่งข้ามถนนโดยไม่ได้มองรถพ่อแม่จะใช้คำพูดรุนแรงต่อว่าเด็กดังกล่าว
คำว่า " โง่ " เป็นคำพูดที่ทำให้เกิดผลเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชเด็ก ได้กล่าวว่า การที่พ่อแม่เรียกลูกว่า " เด็กโง่ " เป็นคำพูดรุนแรงและไม่ควรจะพูดกับเด็ก เพราะเด็กและคนทุกคน มีความสามารถที่จะแสดงออกในการทำอะไรก็ได้ด้วยตัวเขาเองหากเราเรียกเขาว่า " เด็กโง่ " แล้วก็เท่ากับคุณกำลังบอกเขาว่า เขาไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรได้ในชีวิตการดำรงชีวิตของเขาต่อไป เด็กจะกลายเป้นคนที่ไม่มีความสามารถเพียงพอกับงานต่าง ๆ คำพูดประโยคนี้จะมีอิทธิพลต่อเด็กและทำให้เขาคิดว่า เขาเป็นเช่นนี้จริง ๆ เพราะพ่อแม่ซึ่งใกล้ชิดกับเขาเป็นผู้บอกไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
พ่อแม่ควรมีเป้าหมายหลักคือ การช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง มีรากฐานที่มั่นคงในการที่จะเติบโตต่อไป การใช้คำพูดที่ว่า " ทำไมถึงโง่อย่างนี้ " จะทำลายความรู้สึกเปราะบางของเด็ก ทั้งในเรื่องของความมั่นใจในตนเอง และการมองเห็นคุณค่าของตนเอง แต่ถ้าเขามองตนเองต่ำลงดังเช่นที่แม่ว่าเขาความรู้สึกนี้ก็จะติดตัวไปจนเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กทำอะไรผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พ่อแม่ไม่ควรใช้คำพูดที่ทำให้เขาเศร้าเสียใจแต่ควรให้กำลังใจเพื่อช่วยให้เด็กปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น
การสอนเด็กในเรื่องอันตรายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งจะเกิดขึ้นได้หากไม่ระมัดระวังเพียงพอเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ก็จำเป็นที่พ่อแม่จะต้องสอนทวนหลายครั้งต้องอดทนที่จะช่วยให้เด็กได้รับการเรียนรู้นั้น การใช้คำพูดเชิงให้รางวัล ชมเชย ปลอบใจ จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ผู้ใหญ่พยายามสอนและจะปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมขึ้นได้
6.คำรำพึง " ฉันไม่น่าจะมีลูกพรรค์นี้เลย "
เมื่อใดที่พ่อแม่ กล่าวประโยคที่ทำลายความรู้สึกประเภทที่ว่า " เรานี่ไม่มีค่าพอที่จะทำให้ฉันรู้สึกว่า เธอเป็นลูกเลยนะ " หรือคำพูดเชิง " ฉันไม่อยากได้เธอเลย " เด็กจะเก็บกดความรู้สึกที่ว่าตนเองไม่มีค่าไว้ภายในและจะรู้สึกฝังใจกับคำพูดเช่นนี้ไปจนโตก็ได้ ในขณะเดียวกันเมื่อเด็กรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่าควรแก่การสรรเสริญ เขาก็จะทำตนให้เป็นที่รำคาญ หรือไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรือไม่คิดจะทำสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์แก่ตนเขาเองและครอบครัว บางครั้งพ่อแม่จะพูดเช่นนี้เนื่องจากผิดหวังในตัวเด็กแต่ในทางการปฏิบัติแล้ว พ่อแม่จะต้องเตือนใจตนเอง และแสดงให้เด็กรับรู้ว่า เขาเป็นที่รักของพ่อแม่ ควรจะบอกกับเด็กให้รู้ว่า " ขณะนี้เขาได้ทำให้พ่อแม่โกรธแล้ว " ก็พอ ไม่ต้องถึงกับใช้ประโยคที่กล่าวมาแล้ว และพ่อแม่ก็ควรใช้เทคนิคในการกำหนดกฏเกณฑ์เพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติและสอนให้เด็กรู้จักใช้คำว่า " ขอโทษ " เป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ ลูก
7. " อย่ามายุ่งกับฉัน " หรือ " ให้ฉันอยู่ตามลำพังบ้างเถอะ "
ในบางครั้งพ่อแม่ต้องการจะอยู่ตามลำพัง, อยู่กับเพื่อนหรือว่าทำงาน แต่การไล่เด็กให้ออกไปจากห้องจะทำให้เด็กรู้สึกว่า ไม่ได้รับความรักและไม่เป็นที่ต้องการ แม้ว่าพ่อแม่จะต้องเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานแต่อย่างน้อยควรใช้เวลาอยู่กับลูก 3 ช่วงคือ เช้าก่อนไปทำงาน, เมื่อกลับถึงบ้านตอนค่ำ, และเวลาเข้านอน โดยพ่อแม่จะต้องทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจว่าพ่อแม่ยังรักเขาอยู่ และเมื่อพ่อแม่ให้เวลากับลูก เมื่อเวลาที่เขาต้องการแล้วในเวลาอื่นเขาจะเรียกร้องจากท่านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น, ท่านสามารถชี้แจงกับเด็กได้หากต้องการอยู่ตามลำพังบ้างโดยการชี้แจงเชิงบังคับเด็กว่า ท่านได้ให้เวลาแก่เขาแล้ว แต่ถ้าหากเขายังรบกวนท่านอีกเขาจะต้องกลับไปห้องนอนของเขาทันที เพราะขณะนี้ท่านต้องการเวลาส่วนตัวบ้างเด้กจะยอมรับได้มากขึ้น
8. หุบปากซะ, เงียบนะ
คำพูดเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ แต่เป็นคำพูดที่ไม่สุภาพ และการพูดเช่นนี้แสดงว่าสิ่งที่เด็กพูดเป็นเรื่องไม่สำคัญ เด็กจะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่แคร่ในความคิดของเขา ก่อนจะใช้วาจาเช่นนี้ พ่อแม่ควรมีสติ,พยายามระงับความโกรธ หากว่าไม่สามารถระงับได้ก็ควรเลี่ยงหรือพยายามทำใจให้เย็นขึ้น
ได้มีผู้กล่าวว่า " หากจะให้เด็กเป็นคนสุภาพ ท่านก็ต้องสุภาพกับพวกเขาก่อน " ถ้าคิดได้เช่นนี้พ่อแม่ก็จะงดใช้วาจาเช่นนี้กับลูก ๆ
9. ต้องทำ...นะ ไม่งั้นจะโดน
คำพูดเช่นนี้เป็นคำพูดที่มองดูน่ากลัว ไม่เพียงแต่เป็นคำขู่เท่านั้นแต่ยังเป็นการตัดทอนอำนาจของพ่อแม่ด้วย การใช้คำพูดขู่แต่ไม่ทำตามคำพูดเหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระและเป็นเรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ไม่ทำตามคำขู่ที่พูดออกมา แทนที่จะใช้คำขู่พ่อแม่ควรเลือกวิธีการลงโทษที่ท่านสามารถบังคับลูกได้ เช่น " ถ้าหากทำเช่นนี้อีก จะไม่ได้ดูโทรทัศน์ตอนหัวค่ำอีก " การลงโทษเด็กเล็ก ๆ ให้อยู่ในห้อง เป็นการลงโทษที่ไม่ได้ผล แต่สำหรับเด็กโตอาจใชวิธีตัดสิทธฺพิเศษ ก็จะได้ผลดีกว่า ๆ ขู่ หรือว่ากล่าว
10. " มาเร็ว ๆ เข้า ไม่งั้นจะทิ้งไว้ที่นี้นะ "
คำพูดเช่นนี้ ทำให้เด็กตกใจและรีบเร่งทำสิ่งต่าง ๆ การใช้คำขู่ว่าจะทิ้งเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้เด็กเกิดความกลัว ทั้งนี้เด้กเล็ก ๆ มักจะมีความคิดว่าพ่อแม่จะหายไปเลยไม่กลับมาอีก แม้ว่าความกลัวนั้นเป็นพัฒนาการตามวัยของเด็กทุกคนในเรื่องการแยกจากพ่อแม่ พ่อแม่ก็ควรเป็นที่พึ่งให้เด็กในฐานะเป็นผู้ปกป้อง, ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งถ้าพ่อแม่ไม่ให้เด็กในสิ่งนี้เด็กจะเกิดปํญหาการแยกจากพ่อแม่ และเต็มไปด้วยความกลัว หากเด็กยังอืดอาดอยู่อาจยื่นคำขาดแก่เด็กล่วงหน้า เช่น "ลูกมีเวลาเหลืออีก 5 นาทีนะที่จะเล่นกับเพื่อน แล้วเราจะไปกัน " เป็นการพูดทางบวกแทนการขู่
จากบทความของ พิมลพรรณ สุวรรณโถง ศูนย์สุขวิทยาจิต หนังสือ รายการกระจายเสียงวิทยุศึกษา ฉบับเดือน ธันวาคม 2533
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)